วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของระบบสารสนเทศ

ความหมายของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง 

อ้างอิง
สุชาดา  กีระนันทน์.  (2541).  เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติข้อมูลในระบบสารสนเทศ.  กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.youtube.com/watch?v=dgeAIJJupaE สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557
http://www.youtube.com/watch?v=JCSKq6HpUmw สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency)1) ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุง้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้านมีขีดความสามารถในการทำงานถึง 450 ล้านคำต่อนาที (million instructions per second)
2) ระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
3) ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
4) ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
5) ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น
ด้านประสิทธิผล (Effectiveness)1) ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้
2) ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคมในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
3) ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า / บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย
4) ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศได้มีการนำมาให้ตลอดทั้งระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
5 ) คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Working Life) ระบบสารสนเทศจะต้องได้รับการออกแบบออกมาเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีด้วย

ข้อดีและข้อเสียของระบบสารสนเทศ
ผลประโยชน์ของระบบสารสนเทศ 
1. ระบบสารสนเทศสามารถ ทำการคำนวณและประมวลผลงานได้เร็วกว่าคนมาก
2. ระบบสารสนเทศนำเสนอ ประสิทธิภาพผ่านการให้บริการต่างๆ เช่น ตู้เบิกเงินอัตโนมัติเอทีเอ็ม ระบบ       โทรศัพท์ หรือเครื่องที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม เป็นต้น
3. ระบบอินเตอร์เน็ต ช่วยในการเผยแพร่ข่าวสารไปสู่คนทั่วโลกได้
4. ระบบสารสนเทศช่วยให้ สามารถบันทึกรายละเอียดของคนได้อย่างง่ายดายซึ่งอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิ ส่วน  บุคคล
5. ผู้คนที่ใช้ระบบ สารสนเทศเป็น อย่างมากจะประสบปัญหาการเจ็บป่วยในรูปแบบใหม่ๆ
ผลกระทบของระบบสารสนเทศ 

  1.ระบบสารสนเทศช่วย เหลือองค์กรในการเรียนรู้รูปแบบการซื้อสินค้าและความชอบของลูกค้า
  2.ระบบสารสนเทศสนับสนุนการรักษาโรคขั้นก้าวหน้า รังสีวิทยา และการเฝ้าตรวจคนไข้
  3.ระบบงานที่สามารถทำ งานได้โดยอัตโนมัติ อาจทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  4.ระบบสารสนเทศถูกนำมา ใช้งานอย่างกว้างขวางแทบจะในทุกเรื่อง การล้มเหลวของระบบงานอาจนำไปสู่ความล้มเหลวขององค์กร ระบบขนส่งมวลชนหยุดทำงาน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้ชุมชนเป็นอัมพาตได้
  5.ระบบอินเตอร์เน็ตอาจ ถูกนำมาใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลหรือโปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้


อ้างอิง
สุชาดา  กีระนันทน์.  (2541).  เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติข้อมูลในระบบสารสนเทศ.  กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.youtube.com/watch?v=dgeAIJJupaE สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557
http://www.youtube.com/watch?v=JCSKq6HpUmw สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557

องค์ประกอบของสารสนเทศ

องค์ประกอบของสารสนเทศ


         ระบบสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
1. Hardware หมายถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข 

2. Software หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรม ที่สามารถสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถทำได้ ซอร์ฟแวร์แบ่งออกเป็น ซอร์ฟแวร์ระบบ และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์ 

                -ซอร์ฟแวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการกับฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ และเพื่อจัดเตรียมและบำรุงรักษาแพลตฟอร์มจากการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ 
-ซอร์ฟแวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
3 User หมายถึง กลุ่มผุ้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ 
4. Data  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสานกัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 
5. Procedure หมายถึง  ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในระบบสารสนเทศ

คุณลักษณะสารสนเทศที่ดี
ควรมีลักษณะดังนี้ คือ
เนื้อหา (Content)
• ความสมบรูณ์ครอบคลุม (completen ess)                                  • ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
• ความถูกต้อง (accuracy)                                                                 • ความเชื่อถือได้ (reliability)
• การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
• ชัดเจน (clarity)                                                                                                • ระดับรายละเอียด (level of detail)
• รูปแบบการนำเสนอ (presentation)                                             • สื่อการนำเสนอ (media)
• ความยืดหยุ่น (flexibility)                                                              • ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
• ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)                                                  • การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
• มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
• ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)                                 • การมีส่วนร่วม (participation)
• การเชื่อมโยง (connectivity)


อ้างอิง
สุชาดา  กีระนันทน์.  (2541).  เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติข้อมูลในระบบสารสนเทศ.  กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.youtube.com/watch?v=dgeAIJJupaE สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557
http://www.youtube.com/watch?v=JCSKq6HpUmw สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 

ระบบสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศ


อ้างอิง
สุชาดา  กีระนันทน์.  (2541).  เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติข้อมูลในระบบสารสนเทศ.  กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.youtube.com/watch?v=dgeAIJJupaE สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557
http://www.youtube.com/watch?v=JCSKq6HpUmw สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม ชั้น ม.5/11
1.นายปัณณวัฒน์ เพียรจัด           เลขที่  1     เลขประจำตัว   28968
2.นายเตชินท์ เอกสุวีรพงษ์          เลขที่  2     เลขประจำตัว   29063
3.นายธันยา ช่วยสีนวล                เลขที่  6     เลขประจำตัว   29178
4.นายดนัยพัชร์ ตวงวัฒนสิน        เลขที่  13   เลขประจำตัว   31242
5.นางสาวสิตางศุ์ บุณยเกียรติ      เลขที่  31   เลขประจำตัว   29258